ส่วนประกอบของแบตเตอรี่
แบตเตอรี่รถยนต์ชนิดกรดตะกั่ว เป็นแหล่งที่สะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ในรูปพลังงานเคมีเมื่อต่อสายครบวงจรพลังงานเคมีภายในจะเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ไปใช้งานซึ่งแบตเตอรี่จะได้รับการอัดไฟใหม่จากเยนเนอเรเตอร์ และอัลเตอเนเตอร์ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้
1. เปลือกหม้อแบตเตอรี่รถยนต์
2. ฝาเซลล์
3.แผ่นลบ
4. แผ่นบวก
5. แผ่นกั้น
6. สะพานรวมแผ่นบวก
7. น้ำกรดเจือจาง
8. ขั้วแบตเตอรี่
9. สะพานต่อเซลล์เป็นอันดับ
10. จุกปิด
11. ซีลลิ่งคอมเปาว์
รูป 5.4 ส่วนประกอบต่างๆ ของแบตเตอรี่รถยนต์
1. เปลือกหม้อแบตเตอรี่รถยนต์ (Container) จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ทำด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนและแข็งแรง เช่นพวกยางแข็ง (Hard Rubber) ภายในเปลือกหม้อจะกั้นเป็นช่องๆ ตามจำนวนเซลล์ที่ด้านล่างจะมีครีบ (Rib) ยืนสูงขึ้นเพื่อรองรับแผ่นบวกและแผ่นลบ และยังมีประโยชน์สำหรับให้ผงตกร่วงลงกองอยู่ได้
2. ฝาเซลล์ (cell cover) ฝาเซลล์ทำด้วยยางแข็ง ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับเปลือกแบตเตอรี่มี 6 เซลล์ ฝาเซลล์ก็จะมีเท่ากับจำนวนเซลล์ของแบตเตอรี่รถยนต์นั้น ฝาเซลล์ตรงกลางทุกๆ ฝาจะมีรูและเป็นเกลียวไว้สำหรับฝาจุก (Vent plug) ด้านปลายฝาจะมีรูไว้สำหรับให้ขั้วบวก ขั้วลบ ของแบตเตอรี่โผล่ขึ้นมา
3. แผ่นลบ (Negative plate) ประกอบด้วยผงตะกั่วบริสุทธิ์หรือตะกั่วพรุน Pb (sponge lead) ซึ่งมีสีเทา (grey) ตะกั่วนี้จับแน่นอยู่ในโครงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบนมีตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆ
โครงการนี้จะแข็งแรงซึ่งทำขึ้นจากตะกั่วผสมพลวง (lead antimony alloy) ใน 1 เซลล์จะประกอบด้วยแผ่นบวกและแผ่นลบ โดยจะมีแผ่นลบมากกว่าแผ่นบวกอยู่ 1 แผ่นเสมอแผ่นลบจะอยู่ริมทั้งสองข้างใน 1 เซลล์นั้น เช่นแผ่นลบมี 5 แผ่น แผ่นบวกจะมี 4 แผ่น จากการที่แผ่นลบมีมากกว่า เพราะว่าแผ่นบวกทำปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นมากกว่าแผ่นลบ
4. แผ่นบวก (Positive ptate) ประกอบด้วยผงตะกั่วเปอร์ออกไซด์ pbo2 (Lead peroxide) มีสีน้ำตาล (Chocolate brown) ผงตะกั่วเปอร์ออกไซด์ จะจับอยู่แน่นในโครงสี่เหลี่ยมซึ่งมีตารางสี่เหลี่ยมเล็กๆเหมือนแผ่นลบ แผ่นบวกนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการเก็บไฟไว้ในแบตเตอรี่ แผ่นบวกจะดีจะต้องสะอาด และมีรูพรุนมากๆ เพื่อที่จะให้การทำปฏิกิริยาเคมีได้ง่าย
5. แผ่นกั้น (Separators) แผ่นกั้นซึ่งเป็ฯฉนวนจะต้องบางและแบน ทำขึ้นด้วยไม้ (wood) เซลลูโลส (cellulose fiber) ยาง (Microporous Rubber) แก้ว (falt glass) และพลาสติก (plastic) แผ่นกั้นนี้จะกั้นอยู่ระหว่างแผ่นบวกและแผ่นลบไม่ให้ถูกกัน แผ่นกั้นซีกที่ติดอยู่ทางแผ่นบวกจะมีร่องเล็กๆ ในทางดิ่งทั้งแผ่น ร่องเล็กๆ นี้จะเป็นทางทำให้น้ำกรดเข้าทำปฏิกิริยากับแผ่นบวกได้ดี และยังเป็นทางให้ผงหลุดร่วงจากแผ่นบวกตกลงไปยังส่วนล่างของเปลือกหม้อแบตเตอรี่ ดังนั้นแผ่นบวกจะเสื่อมเร็วกว่าแผ่นลบ ซีกที่ติดอยู่กับแผ่นลบเป็นแผ่นเรียบ แผ่นกั้น จะต้องทนทานถาวร และมีคุณสมบัติให้น้ำกรดซึมผ่านได้ดี และไม่ทำปฏิกิริยากับกรด
6. สะพานรวมแผ่นบวก ลบ (Plate strap Casting)ทำด้วยตะกั่วผสมพลวง ใช้สำหรับต่อแผ่นบวก แผ่นลบต่างๆเข้าด้วยกัน แผ่นบวกทั้งหมดนำมาต่อกันโดยสะพานรวมแผ่นบวก สะพานรวมแผ่นบวกนี้จะมีขั้วยื่นขึ้นมาเป็นขั้วบวก สำหรับแผ่นลบทั้งหมดนำมาต่อกันโดยสะพานรวมแผ่นลบและมีขั้วยื่นขึ้นมาเป็นขั้วลบ
7. อิเลคทรอไลด์ (Electrolyte) คือน้ำยาที่ผสมขึ้นระหว่างกรดกำมะถัน (H2SO4) กับน้ำกลั่นบริสุทธิ์ (H2SO4) ซึ่งเป็นสื่อไฟฟ้า และเป็นตัวทำปฏิกิริยากับแผ่นบวกและแผ่นลบ ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าจ่ายไปใช้งาน น้ำกรดเมื่ออัดไฟเต็มควรมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.250 ที่ 80 องศาฟาเรนไฮ สำหรับประเทศร้อน และมี ถ.พ. ประมาณ 1.280 ที่ 80 องศาฟาเรนไฮ สำหรับประเทศหนาว และอัตราส่วนผสมของน้ำกรดกำมะถันเมื่อแบตเตอรี่ไฟเต็ม ประมาณ 25% โดยปริมาตร หรือประมาณ 36% โดยน้ำหนัก
8. ขั้วบวกขั้วลบ (Terminal Posts) คือแท่งตะกั่วกลมซึ่งใช้เป็นขั้วบวกและขั้วลบ ซึ่งมีอยู่2แบบ แบบหนึ่งเป็นปลอกตะกั่วหล่อติดกับฝาเซลล์ อีกแบบเป็นปลอก (Soft rubber) ซึ่งอยู่รัดขั้วแน่นเมื่อประกอบแบตเตอรี่เสร็จ
9. สะพานต่อเซลล์ (Cell connector) คือตะกั่วแผ่นช้สำหรับต่อขั้วบวกขั้วลบของแต่ละเซลล์ในแบตเตอรี่ให้เป็นอันดับ
10. จุกปิด (Vent plug) จุกปิดจะทำเป็นเกลียวหมุนเข้าไปในเกลียวของฝาเซลล์ หรือบางแบบเป็นจุกปิดแบบเรียว (Taper) กดลงในฝาเซลล์ จุกปิดจะทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ
1. เป็นทางสำหรับตรวจเติมน้ำกลั่น และวัด ถ.พ. ของอิเลคทรอไลด์
2. เป็นรูเล็กๆ ระบายแก๊สไฮโดรเจนและอ๊อกซิเจน ที่เกิดขึ้นภายในหม้อแบตเตอรี่ในระหว่างการอัดไฟ
11. ซิลลิ่งคอมเปาว์ (Sealing Compound) คือยากันซึม ซึ่งจะเทในรองระหว่างฝาเซลล์แต่ละเซลล์ และระหว่างฝาเซลล์กับเปลือกหม้อแบตเตอรี่รถยนต์เพื่อผนึกฝาเซลล์กับตัวเปลือกหม้อแบตเตอรี่รถยนต์ให้สนิทกัน ไมให้อิเลคทรอไลด์รั่วออกมาภายนอก