บทความ & เกร็ดความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์

ปฏิกิริยาเคมีในแบตเตอรี่

ปฏิกิริยาเคมีในแบตเตอรี่

ปฏิกิริยาเคมีในแบตเตอรี่ (Chemical Action in Storage Batteries) ของเหลวอยู่ภายในแบตเตอรี่ เรียกว่าน้ำยาอิเลคทรอไลด์ ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างกรดกำมะถัน (H2SO4) กับน้ำ (H2O) เมื่อแบตเตอรี่อยู่ในลักษณะไฟเต็ม แผ่นบวกคือตะกั่วเปอร์อ๊อกไซด์ มีสูตรทางเคมี pbo2 ประกอบด้วยตะกั่ว 1 อะตอม และอ๊อกซิเจน 2 อะตอม มีสีช๊อกโคแลต แผ่นลบคือตะกั่วบริสุทธิ์ (sponge lead) มีสูตรทางเคมี (Pb) มีสีเทา น้ำยาอิเลคทรอไลด์ ประกอบด้วยไฮโดรเจน (H) 2 อะตอม, กำมะถัน (S) 1 อะตอม และอ๊อกซิเจน (O) 4 อะตอม ปฏิกิริยาในการจ่ายกระแสไฟของแบตเตอรี่ (Discharging the cell) เมื่อต่อวงจรจากขั้วแบตเตอรี่ไปใช้งานเมื่อใดกระแสไฟจะเริ่มไหล กระแสไฟนี้จะเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างแผ่นบวก แผ่นลบ และกรดกำมะถัน อ๊อกซิเจน (O) จากตะกั่วเปอร์อ๊อกไซด์ (Pbo2) จะไปรวมกับไฮโดรเจน (H) ขากน้ำยาอิเลคทรอไลด์ (H2SO4) กลายเป็นน้ำ (H2O) ซัลเฟต(SO4) จากน้ำยาอิเลคทรอไลด์(H2SO4) จะไปรวมกับตะกั่ว (Pb) จากตะกั่วเปอร์อ๊อกไซด์กลายเป็นตะกั่วซัลเฟต (PbSo4) ปฏิกิริยาเคมีจะเป็นทั้งแผ่นบวกและแผ่นลบ ... อ่านต่อ ...

ส่วนประกอบของแบตเตอรี่

ส่วนประกอบของแบตเตอรี่

ส่วนประกอบของแบตเตอรี่ แบตเตอรี่รถยนต์ชนิดกรดตะกั่ว เป็นแหล่งที่สะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ในรูปพลังงานเคมีเมื่อต่อสายครบวงจรพลังงานเคมีภายในจะเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ไปใช้งานซึ่งแบตเตอรี่จะได้รับการอัดไฟใหม่จากเยนเนอเรเตอร์ และอัลเตอเนเตอร์ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ 1. เปลือกหม้อแบตเตอรี่รถยนต์
2. ฝาเซลล์
3.แผ่นลบ
4. แผ่นบวก
5. แผ่นกั้น
6. สะพานรวมแผ่นบวก
7. น้ำกรดเจือจาง
8. ขั้วแบตเตอรี่
9. สะพานต่อเซลล์เป็นอันดับ
10. จุกปิด
11. ซีลลิ่งคอมเปาว์ รูป 5.4 ส่วนประกอบต่างๆ ของแบตเตอรี่รถยนต์ 1. เปลือกหม้อแบตเตอรี่รถยนต์ (Container) จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ทำด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนและแข็งแรง เช่นพวกยางแข็ง (Hard Rubber) ภายในเปลือกหม้อจะกั้นเป็นช่องๆ ตามจำนวนเซลล์ที่ด้านล่างจะมีครีบ (Rib) ยืนสูงขึ้นเพื่อรองรับแผ่นบวกและแผ่นลบ และยังมีประโยชน์สำหรับให้ผงตกร่วงลงกองอยู่ได้ 2. ฝาเซลล์ (cell cover) ฝาเซลล์ทำด้วยยางแข็ง ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับเปลือกแบตเตอรี่มี ... อ่านต่อ ...

หน้าที่ของแบตเตอรี่รถยนต์

หน้าที่ของแบตเตอรี่รถยนต์

หน้าที่ของแบตเตอรี่รถยนต์ 1. จ่ายกระแสให้กับมอเตอร์สตาร์ท (cranking motor) ในการเรื่มเดินเครื่องยนต์ครั้งแรก และจ่ายให้กับระบบจุดระเบิด และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
2. ขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน บางขณะแบตเตอรี่จะต้องจ่ายกระแสไฟออกไปช่วยเยนเนอเรเตอร์เมื่อการใช้แสงสว่าง วิทยุ แอร์ อุปกรณ์ไฟอื่นๆ ซึ่งเกินกว่าค่าพลังงานไฟฟ้าที่เยนเนอเรเตอร์ผลิตได้
3. แบตเตอรี่จะเป็นตัวยืนให้มีพลังงานไฟฟ้าใช้ในรถยนต์ กรณีเยนเนอเรเตอร์เกิดขัดข้อง ระบบการทำงานของแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์เปรียบเสมือนขุมกำลังไฟสำรองที่ใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ และจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในรถยนต์ แต่มิได้หมายความว่าแบตเตอรี่เป็นต้นกำเนิดไฟที่จะจ่ายไฟให้แก่อุปกรณ์ต่างๆในรถของท่านตลอดเวลา หรือพูดอีกนัยหนึ่งแบตเตอรี่รถยนต์คือแหล่งพลังไฟสำรองสำหรับรถของท่าน ไดชาร์จจะทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิดของขุมพลังไฟในรถท่าน และคอยจ่ายไฟไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของรถยนต์โดยผ่านแบตเตอรี่ที่อยู่ในรถยนต์ของท่าน ดังนั้นแบตเตอรี่จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทั้งรองรับการจ่ายไฟเข้าของไดชาร์จและจ่ายไฟออกเมื่อรถของท่านต้องการกำลังไฟที่เพิ่มมากขึ้นขณะเดินทางยามค่ำคืน ... อ่านต่อ ...

ประเภทแบตเตอรี่

ประเภทแบตเตอรี่

แบตเตอรี่รถยนต์ชนิดตะกั่วกรดจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ตามคุณสมบัติการใช้งาน ได้ดังต่อไปนี้ครับ 1. Conventional Battery (แบตเตอรี่ ชนิดต้องเติมน้ำกลั่น ตลอดเวลา ) : เป็นแบตเตอรี่ที่อัตราการสูญเสียไอน้ำกรดค่อนข้างมาก ตลอดอายุการใช้งาน เนื่องจากแผ่นธาตุทำจาก ตะกั่วพลวง (Lead Antimony) ทั้งแผ่นธาตุบวก และ แผ่นธาตุลบ ซึ่งแผ่นธาตุที่ทำจากตะกั่วพลวง จะมีคุณสมบัติดังนี้ - มีความทนทานต่อความร้อนสูง
- มีความทนทานต่อน้ำกรดสูง
- มีความทนทานต่อการประจุไฟฟ้าสูง (ความต้านทานภายในสูง) แต่ก็มีข้อด้อยในเรื่อง - มีการคายประจุไฟฟ้าเองรวดเร็ว (Self Discharge เร็วมาก) ทำให้การขนส่ง และการเก็บรักษาได้ยาก
- ทำให้การอัดประจุไฟฟ้าช้า เนื่องจากมีความต้านทานภายในสูง ทำให้กระแสไหลเข้าได้ช้า)
- เกิดความร้อนจากการชาร์จมาก ทำให้มีการสูญเสียน้ำกรดค่อนข้างเร็ว
- แบตเตอรี่เกิดการโอเวอร์ชาร์จได้ง่าย 2. Hybrid Battery (แบตเตอรี่ชนิดบำรุงรักษาน้อย) : เป็นแบตเตอรี่ที่มีการพัฒนาเพื่อแก้ไข ปัญหาหลักของแบตเตอรี่ชนิดแรก ... อ่านต่อ ...

การต่อพ่วงแบตเตอรี่ฉุกเฉิน

การต่อพ่วงแบตเตอรี่ฉุกเฉิน

การต่อพ่วงแบตเตอรี่ฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่ท่านควรรู้ไว้ เพราะปัญหาเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์เป็นปัญหาที่ไม่ "ค่อย" จะเกิดในกรณีหากท่านเป็นคนที่ดูแลรถยนต์สุดที่รักเป็นอย่างดี หมั่นตรวจเช็คสภาพของแบตเตอรี่ หมั่นตรวจเช็คปริมาณน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ หรือตรวจสภาพสายไฟในรถยนต์ว่ามีจุดไหนรั่วไหม ไม่ว่าจะเป็นสายไฟภายในรถยนต์ และสายไฟภายนอกรถยนต์ ปัญหาที่กล่าวมาอาจจะส่งผลให้ไฟในแบตเตอรี่ถูกใช้จนหมด หากเกิดขึ้น จะไม่สามารถสตาร์ทรถยนต์ได้เลย เพราะกระแสไฟที่ใช้สตาร์ทมีไม่เพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาต้องเสียเวลาหาคนช่วยพ่วงแบตเตอรี่เพื่อสตาร์ทรถยนต์ และคนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้วิธีที่ถูกต้องในการต่อพ่วงแบตเตอรี่ฉุกเฉิน และหากทำผิดขั้นตอนอาจจะส่งผลให้ระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์เกิดทำงานผิดปกติได้ และคนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยชอบพกสายจั๊มแบตเตอรี่ไว้ในรถยนต์ เวลาหาคนช่วยก็ลำบากไม่ใช่น้อย เพราะคนที่จะมาช่วยก็ไม่ได้พกมาเช่นเดียวกันนั้นเอง ทางเลือกจึงมีไม่เยอะ อาจจะโทรศัพท์หาเพื่อน หรือญาติพี่น้อง ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้มาช่วยจั๊มแบตเตอรี่ ... อ่านต่อ ...

ทั้งหมด 21 รายการ