วิธีการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์และการต่อพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ฉุกเฉิน เมื่อแบตเตอรี่รถยนต์ไฟหมด และจำเป็นต้องอัดกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่โดยไม่มีเครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ สามารถต่อพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ลูกที่ไฟหมดเข้ากับแบตเตอรี่รถยนต์ของรถอีกคันได้ โดยทำดังนี้ จอดรถใกล้กัน แต่อย่าให้สัมผัสกัน ใช้สายพ่วงที่ใหญ่และไม่ยาวเกินไป ต่อแบตเตอรี่ตามหมายเลขในรูป คือ 1). ต่อขั้วบวก (+) ของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟหมด 2). ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่รถยนต์ดี 3). ต่อขั้วลบ (-) ของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่รถยนต์ดี 4). ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับโครงรถคันที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟหมด 5). เมื่อสตาร์ทรถคันที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟหมด และเครื่องยนต์ติดแล้วถอดสายไฟทวนจากหมายเลข อ่านต่อ ...
1.ก่อนอื่นท่านต้องเลือกร้านแบตเตอรี่ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับแบตเตอรี่แบบชนิดว่าเป็นมืออาชีพนะครับ ทำไมต้องเป็นแบบนั้นครับ ก็เพราะว่าถ้าร้านแบตเตอรี่รถยนต์ที่ไม่เป็นมืออาชีพอาจจะแนะนำให้ท่านใช้แบตเตอรี่ที่ผิดประเภทหรือไม่เหมาะสมกับรถยนต์ของท่านได้ และท่านอาจจะเสียเงินฟรีๆเพราะท่านจะใช้แบตเตอรี่ดังกล่าวได้ไม่นาน ตัวอย่างเช่น -ถ้าท่านที่ใช้รถกระบะหรือ SUV ที่เครื่องยนต์มีขนาดมากกว่า 2800 CC.และท่านจะต้องใช้งานรถของท่านทุกวัน แบตเตอรี่ที่เหมาะสมที่สุดคือแบตเตอรี่รถยนต์ที่มีขนาด 90 แอมแปร์ เพราะว่าถ้าท่านเลือกซื้อหรือช่างแนะนำให้ท่านใช้แบตเตอรี่รถยนต์ที่มีขนาดต่ำกว่านั้น แบตเตอรี่รถยนต์ดังกล่าวจะไม่สามารถทนทานต่อกระแสไฟได้และจะทำให้เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรครับ -หากท่านใช้รถยุโรปและอยากประหยัดงบโดยใช้แบตเตอรี่ที่ไม่ใช่ขั้วจม หรือแบตเตอรี่ขั้วลอยที่รถญี่ปุ่นเค้าใช้กันซึ่งราคาถูกกว่า 300 ถึง 500 บาท ท่านอาจจะใช้แบตเตอรี่ดังกล่าวได้ไม่เกินปี สาเหตุมาจากการออกแบบและลักษณะของค่าไฟของแบตเตอรี่รถยนต์ที่แตกต่างกัน ... อ่านต่อ ...
การติดตั้งแบตเตอรี่รถยนต์ การติดตั้งแบตเตอรี่รถยนต์ตัวใหม่แทนตัวเก่าที่เสียแล้ว 1. ก่อนนำแบตเตอรี่รถยนต์ตัวเก่าออกควรจำตำแหน่งขั้วบวกและขั้วลบให้ดี เพื่อที่จะวางแบตเตอรี่รถยนต์ลูกใหม่ได้ถูกต้อง 2. ดึงสายดินซึ่งต่อไปยังตัวรถออก เพื่อป้องกันการลัดวงจร ซึ่งอากเกิดจากขั้วอื่นไปแตะตัวถัง 3. ยกแบตเตอรี่ตัวเก่าออกจากแท่นรอง แล้วทำความสะอาดสายไฟและแท่นรองพร้อมทั้งตรวจสายบริเวณตัวถังพร้อมทั้งขัดทำ ความสะอาดเพื่อให้กระแสเดินได้สะดวก 4. เขียนวันที่เริ่มใช้งานไว้บนแบตเตอรี่ลูกใหม่ด้วยสี เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงภายหลัง จากนั้นวางแบตเตอรี่ลูกใหม่บนแท่นรองพร้อมทั้งยึดให้แน่น 5. ใส่หัวขั้วบวกของแบตเตอรี่ ก่อนใส่ต้องตรวจให้มั่นใจเสียก่อน โดยขั้วบวกจะมีลักษณะใหญ่กว่าขั้วลบ จากนั้นใส่หัวขั้วลบแล้วขันขั้วทั้งสองให้แน่น ให้ทาน้ำมันวาสลินหรือจารบี เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่ขั้ว เป็นตะกั่วซัลเฟต ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาว 6. ก่อนติดเครื่องยนต์ ต้องตรวจขั้วให้มั่นใจว่าต่อถูกต้องโดยทดสอบอย่างง่ายๆ คือเปิดไฟหน้ารถ ... อ่านต่อ ...
หน้าที่ของแบตเตอรี่รถยนต์ 1. จ่ายกระแสให้กับมอเตอร์สตาร์ท (cranking motor) ในการเรื่มเดินเครื่องยนต์ครั้งแรก และจ่ายให้กับระบบจุดระเบิด และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
2. ขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน บางขณะแบตเตอรี่จะต้องจ่ายกระแสไฟออกไปช่วยเยนเนอเรเตอร์เมื่อการใช้แสงสว่าง วิทยุ แอร์ อุปกรณ์ไฟอื่นๆ ซึ่งเกินกว่าค่าพลังงานไฟฟ้าที่เยนเนอเรเตอร์ผลิตได้
3. แบตเตอรี่จะเป็นตัวยืนให้มีพลังงานไฟฟ้าใช้ในรถยนต์ กรณีเยนเนอเรเตอร์เกิดขัดข้อง ระบบการทำงานของแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์เปรียบเสมือนขุมกำลังไฟสำรองที่ใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ และจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในรถยนต์ แต่มิได้หมายความว่าแบตเตอรี่เป็นต้นกำเนิดไฟที่จะจ่ายไฟให้แก่อุปกรณ์ต่างๆในรถของท่านตลอดเวลา หรือพูดอีกนัยหนึ่งแบตเตอรี่รถยนต์คือแหล่งพลังไฟสำรองสำหรับรถของท่าน ไดชาร์จจะทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิดของขุมพลังไฟในรถท่าน และคอยจ่ายไฟไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของรถยนต์โดยผ่านแบตเตอรี่ที่อยู่ในรถยนต์ของท่าน ดังนั้นแบตเตอรี่จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทั้งรองรับการจ่ายไฟเข้าของไดชาร์จและจ่ายไฟออกเมื่อรถของท่านต้องการกำลังไฟที่เพิ่มมากขึ้นขณะเดินทางยามค่ำคืน ... อ่านต่อ ...
แบตเตอรี่รถยนต์ชนิดตะกั่วกรดจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ตามคุณสมบัติการใช้งาน ได้ดังต่อไปนี้ครับ 1. Conventional Battery (แบตเตอรี่ ชนิดต้องเติมน้ำกลั่น ตลอดเวลา ) : เป็นแบตเตอรี่ที่อัตราการสูญเสียไอน้ำกรดค่อนข้างมาก ตลอดอายุการใช้งาน เนื่องจากแผ่นธาตุทำจาก ตะกั่วพลวง (Lead Antimony) ทั้งแผ่นธาตุบวก และ แผ่นธาตุลบ ซึ่งแผ่นธาตุที่ทำจากตะกั่วพลวง จะมีคุณสมบัติดังนี้ - มีความทนทานต่อความร้อนสูง
- มีความทนทานต่อน้ำกรดสูง
- มีความทนทานต่อการประจุไฟฟ้าสูง (ความต้านทานภายในสูง) แต่ก็มีข้อด้อยในเรื่อง - มีการคายประจุไฟฟ้าเองรวดเร็ว (Self Discharge เร็วมาก) ทำให้การขนส่ง และการเก็บรักษาได้ยาก
- ทำให้การอัดประจุไฟฟ้าช้า เนื่องจากมีความต้านทานภายในสูง ทำให้กระแสไหลเข้าได้ช้า)
- เกิดความร้อนจากการชาร์จมาก ทำให้มีการสูญเสียน้ำกรดค่อนข้างเร็ว
- แบตเตอรี่เกิดการโอเวอร์ชาร์จได้ง่าย 2. Hybrid Battery (แบตเตอรี่ชนิดบำรุงรักษาน้อย) : เป็นแบตเตอรี่ที่มีการพัฒนาเพื่อแก้ไข ปัญหาหลักของแบตเตอรี่ชนิดแรก ... อ่านต่อ ...