ความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่

การชาร์จแบตรถยนต์อย่างถูกวิธี

การชาร์จแบตรถยนต์อย่างถูกวิธี

แบตเตอรี่รถยนต์ที่เราเรียกกันว่าแบตเตอรี่น้ำอันที่จริงคือแบตเตอรี่ชนิดอัดแห้ง (DRY CHARGE) แบตเตอรี่ ชนิดอัดแห้งเป็นที่นิยมกัน เพราะการผลิตออกจำหน่ายตามท้องตลาดไม่จำเป็นต้องเติมน้ำกรดไว้ล่วงหน้า เพราะไม่สะดวกต่อการขนส่ง และการเก็บรักษา แผ่นบวกและแผ่นลบ ภายในหม้อแบตเตอรี่จะต้องดูดความชื้นออกให้หมด โดยนำไปอบก่อนประกอบซึ่งแผ่นบวกและลบสามารถป้องกันความชื้นได้ ซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานประมาณ 1 ปี ถ้าหากมีความชื้นที่แผ่นบวกและลบอาจจะเป็น อ๊อกไซด์ช้าๆ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าแผ่นบวกลบเสื่อมคุณภาพ ปกติเมื่อเติมน้ำกรดลงไปในกรณีฉุกเฉินก็สามารถนำไปใช้งานได้เลย วิธีอัดไฟสำหรับแบตเตอรี่น้ำ แกะเอาเทปของฝาปิดของทุกๆช่องของแบตเตอรี่ออกก่อนที่จะนำแบตเตอรี่ไปอัดไฟ ยาอิเลคทรอไลด์ 1. ใช้กรดกำมะถันผสมกับน้ำอย่างเจือจาง โดยมีความถ่วงจำเพาะดังตาราง น้ำยาอิเลคทรอไลด์นี้มีอุณหภูมิต่ำกว่า 90F (32C) 2. เติมน้ำยาอิเลคทรอไลด์ในทุกช่องของแบตเตอรี่ ซึ่งให้สูงท่วมแผ่นบวกลบประมาณ 3/8 หรือท่วมจนถึงขอบสี่เหลี่ยมตรงคอ การตั้งทิ้งไว้ ... อ่านต่อ ...

อาการแบตเสื่อม

อาการแบตเสื่อม

ข้อสังเกตเมื่อแบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพ 1. เมื่อรถยนต์ของท่านมีอาการสตาร์ทช้า และมีเสียงของมอเตอร์สตาร์ททำงานมากดังแกรกๆ ซึ่งครั้งแรกๆจะมีอาการนิดหน่อย แต่พอผ่านไปสักสองสามวัน จะมีอาการดังของมอเตอร์สตาร์ทดังขึ้นเรื่อยๆครับ หลังจากนั้นสักพักก็สตาร์ทไม่ติดครับ อาการแบบนี้ส่วนมากมักจะเกิดจากแบตเตอรี่รถยนต์ที่เสื่อมสภาพแล้วครับ ดังนั้นผู้ใช้รถยนต์ควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ทันที่เพราะท่านไม่ สามารถคาดเดาได้เลยว่ารถยนต์ของท่านจะไปเสียกลางทางในเวลาไหนครับ 2. หลังจากท่านสังเกตอาการดังกล่าวแล้วเพื่อให้แน่ใจ อีกครั้งหนึ่งว่าแบตเตอรี่รถยนต์ของท่านเสื่อมสภาพจริงๆ ท่านสามารถสังเกตได้จากน้ำกรดในช่องของแบตเตอรี่ว่าแห้งหรือไม่ (สำหรับแบตเตอรี่ชนิดน้ำหรือแบบน้ำ) ถ้าแบตเตอรี่ของท่านมีน้ำกรดต่ำกว่าระดับแผ่นธาตุและท่านไม่เคยเติมน้ำกลั่น มาเป็นระยะเวลานาน ท่านมั่นใจได้เลยว่าแบตเตอรี่ของท่านแทบที่จะไม่สามารถนำมาใช้งานได้อีกนะ ครับ ถึงแม้ท่านจะนำไปเปลี่ยนถ่ายน้ำกรดใหม่และชาร์จไฟใหม่ก็ตามเพราะค่าของ แบตเตอรี่รถยนต์ของท่านจะมีค่าลดลงหรือนั่นหมายถึงอายุงานที่ลดลงตามลำดับ ... อ่านต่อ ...

การบำรุงรักษาแบตเตอรี่รถยนต์

การบำรุงรักษาแบตเตอรี่รถยนต์

อายุ การใช้งานของแบตเตอรี่ จะยาวนานย่อมขึ้นอยู่กับการออกแบบการสร้างการนำไปใช้ ตลอดถึงการบริการ ซึ่งต้องทำความสะอาดภายนอกแบตเตอรี่, สายแบตเตอรี่และขั้ว ตลอดถึงการยึด การตรวจน้ำยา ซึ่งมีผลต่ออายุของแบตเตอรี่นั้นๆ แบตเตอรี่ จำเป็นต้องตรวจบริการอยู่เสมอ เพื่อที่จะให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้นซึ่งการบริการในรถ และยกออกนอกรถ การบริการในรถได้แก่ ทดสอบแบตเตอรี่ด้วยโวลท์มิเตอร์, การเติมน้ำกลั่น, การวัด ถ.พ. ด้วยไฮโดรมิเตอร์, การทำความสะอาดแบตเตอรี่, การเปลี่ยนสายและการยึดขั้วให้แน่น การบริการนอกรถได้แก่ การเติมน้ำกลั่น, การทดสอบด้วยโวลท์มิเตอร์, และไฮโดรมิเตอร์, การอัดไฟใหม่, การทำความสะอาดเปลือกหม้อและแท่นรองรับ การเติมน้ำกลั่น (Adding Water) ใน การบริการแบตเตอรี่ที่ถูกต้อง ต้องคอยตรวจเติมระดับน้ำกลั่นเป็นระยะเวลาเพื่อป้องกันระดับน้ำยาแห้ง และต่ำกว่าแผ่นธาตุ ซึ่งจะทำให้แผ่นธาตุบางส่วนสัมผัสอากาศทำให้เกิดการเสียหายได้ การเติมน้ำกลั่นประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพราะว่าเมื่อใช้งานไปมีปฏิกิริยากลับไปกลับมา ... อ่านต่อ ...

ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่

ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่

ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ (Battery Efficiency)   แบตเตอรี่ที่จ่ายไฟออกช้าๆ ย่อมมีประสิทธิภาพดีกว่าแบตเตอรี่ที่จ่ายไฟออกไปอย่างรวดเร็ว และอุณหภูมิต่ำลงประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ก็จะลดลงด้วย ดังนั้นประสิทธิภาพย่อมขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ จะเห็นได้ว่าถ้าพลังงานที่ได้จากแบตเตอรี่ ที่ 80F คิดได้เป็น 100% ที่ 32F พลังงานจะลดลงเหลือ 65% ที่ 0F พลังงานจะลดเหลือ 40% เท่านั้น   รูปการเปรียบเทียบพลังงานที่ได้จากแบตเตอรี่ที่อุณหภูมิต่างๆกัน เมื่ออัดไฟเต็มที่แล้ว   การแสดงสภาพภาวการณ์ประจุของแบตเตอรี่ (Condition Deter mining Battery State of Charge)   แรงดันที่ขั้วของแบตเตอรี่จะเปลี่ยนไปตามภาวะการประจุของแบตเตอรี่หรือการจ่ายไฟ และตลอดอุณหภูมิของแบตเตอรี่ ซึ่งพอจะสรุปคุณสมบัติดังนี้   1. แรงดันที่ขั้วเพิ่มขึ้น เมื่ออัตราการประจุเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มกระแสไฟในการประจุเข้าแบตเตอรี่ 2. เมื่ออัตราสภาพการประจุเพิ่มขึ้น แรงดันที่ขั้วจะต้องสูงขึ้น ถ้ากระแสเข้าไปในแบตเตอรี่คงที่ 3. เมื่ออุณหภูมิลดลง ... อ่านต่อ ...

น้ำยาอิเลิคทรอไลด์และความถ่วงจำเพาะ

น้ำยาอิเลิคทรอไลด์และความถ่วงจำเพาะ

ถ้าเรานำน้ำมา 1 ส่วน และนำน้ำยาอิเลคทรอไลด์ 1 ส่วน มาชั่ง น.น. ดูจะเห็นว่าน้ำยาอิเลคทรอไลด์หนักกว่าน้ำ ปกติน้ำจะมี ถ.พ. เท่ากับ 1 ส่วน น้ำยาอิเลคทรอไลด์ ซึ่งมีกรดกำมะถัน (H2So4) กับน้ำ (H2O) เมื่ออัดไฟเต็มในแบตเตอรี่ จะมี ถ.พ. 1.250-1.260 รูปน้ำยาอิเลคทรอไลด์หนักกว่าน้ำ จาก ปฏิกิริยาเดิมที่เกิดขึ้นตอนจ่ายไฟ จะเห็นว่าได้น้ำเกิดขึ้นซึ่งเป็นผลให้ ความเข้มข้นของกรดกำมะถันในน้ำยาอิเลคทรอไลด์ลดลง ด้วยเหตุนี้การเข้มข้นของกรดกำมะถันจึงสามารถใช้เป็นตัวชี้สภาพของแบตเตอรี่ ว่าจ่ายไฟไปแล้วมากน้อยเพียงใด การวัดความเข้มข้นของกรดกำมะถันวัดจากความถ่วงจำเพาะ เพราะความถ่วงจำเพาะของกรดกำมะถันในน้ำยาอิเลคทรอไลด์มากกว่าน้ำ เครื่องมือที่ใช้วัด ถ.พ. ของกรดกำมะถันคือ ไฮโดรมิเตอร์ ไฮโดรมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความถ่วงจำเพาะของกรดกำมะถัน ในน้ำยาอิเลคทรอไลด์ ซึ่งประกอบด้วยหลอดแก้วใหญ่อันหนึ่ง ที่ปลายข้างหนึ่งมีหลอดยาวเล็กๆ ประกอบอยู่สำหรับแหย่ลงไปดูดน้ำยาอิเลคทรอไลด์จากแบตเตอรี่ อีกปลายหนึ่งมีลูกยางสวมอยู่ภายในหลอดแก้วใหญ่ ... อ่านต่อ ...

ทั้งหมด 21 รายการ